This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อย.เตือนอย่าใช้ พาราเซตามอล พร่ำเพรื่อ

อย.เตือน “พาราเซตามอล” ไม่ใช่ยาวิเศษรักษาได้ทุกอาการปวด บอกคนไทยอย่าใช้ยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ หากใช้ไม่ถูกนอกจากไม่บรรเทาอาการ ซ้ำร้ายอาจได้รับอันตรายจากผลข้างเคียง แนะปฏิบัติตามฉลากยา หากไม่เข้าใจให้ปรึกษาเภสัชกรก่อน
    นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากข้อมูลการใช้ยาแก้ปวดของคนไทย พบว่า มีการใช้ยาแก้ปวดกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะ “พาราเซตามอล” ซึ่งส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า เป็นยาแก้ปวดสามารถรักษาได้ทุกอาการปวด ในความเป็นจริงแล้ว อย.ขอเตือนว่า เป็นความเข้าใจผิด เนื่องจากยาแก้ปวดแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการรักษา และความปลอดภัยในการใช้ยาแตกต่างกัน โดยทั่วไปแบ่งยาแก้ปวดออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้ระงับปวดที่รุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เช่น มอร์ฟีน (morphine) ทรามาดอล (Tramadol) ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ใช้ระงับความเจ็บปวดที่รุนแรงจากอวัยวะภายใน เช่น ปวดนิ่วในไต ปวดกล้ามเนื้อหัวใจจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ปวดจากบาดแผลที่มีขนาดใหญ่ เช่น หลังการผ่าตัด การคลอดลูก โรคมะเร็ง จึงมักใช้กับคนไข้ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเป็นส่วนใหญ่ ยากลุ่มดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงสูง โดยเฉพาะ ทรามาดอล (Tramadol) ซึ่งจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ มึนงง อาเจียน กดระบบหายใจ อีกทั้งยังอาจมีอาการทางจิตประสาท เช่น อารมณ์แปรปรวน เฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น และหากได้รับยาเกินขนาดจะทำให้เกิดภาวะอื่นๆ ตามมา เช่น อาเจียน ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทำงานช้าลงจนถึงขั้นหยุดหายใจได้
       
       นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวต่อว่า ยาแก้ปวดอีกกลุ่มคือ กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้สำหรับอาการปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs : NSAIDs) ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ โดยเฉพาะยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เนื่องจากจะมีผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ระบบทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ ปวดท้อง เป็นแผลบริเวณทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจรุนแรงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน ระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึม มึนงง ซึมเศร้า ระบบเลือด จะขัดขวางการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด มีผลต่อการทำงานของไต โดยทำให้ไตบวม ระดับโปตัสเซียมและโซเดียมในเลือดสูงและไตวาย และมีผลต่อผิวหนัง โดยมีอาการผื่น คัน ผิวหนังพอง บางรายอาจมีการแพ้แสงแดดอีกด้วย นอกจากนี้ ยาพาราเซตามอลที่มีการใช้อย่างแพร่หลายนั้น หากใช้ยาเกินปริมาณที่แนะนำอาจจะนำไปสู่การเกิดพิษต่อตับ จนนำไปสู่ภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด
       
       นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวอีกว่า ขอให้ประชาชนผู้บริโภคใช้ยารักษาอาการปวดอย่างถูกต้อง โดยใช้ยาตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยาเกินขนาด ใช้บ่อยกว่า หรือใช้เป็นระยะเวลานานกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก หรือเอกสารกำกับยา หรือแพทย์สั่ง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือเสียชีวิตได้ รวมทั้งไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการใช้ยาแก้ปวด เพราะอาจเพิ่มอาการข้างเคียงของยามากขึ้น ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th :25 พฤษภาคม 2555 11:59 น.

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คุณหมอพรทิพย์เขียนไว้ว่าเวลาผ่าศพจะเจออุจจาระตกค้างในลำไส้




"ตะลึง"....คุณหมอพรทิพย์เขียนไว้ว่าเวลาผ่าศพจะเจออุจจาระตกค้างในลำไส้อย่างน่าตกใจบางศพมีน้ำหนักอุจจาระถึง10 โล... แล้วเป็นเพราะอะไร???
ว่า "อุจจาระตกค้าง" อุจจาระตกค้าง เนื่องมาจาก
1. เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
2. กินอาหารที่มีกากใยน้อย
3. มีพยาธิ หรือ เชื้อรา ทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติ
4. ระบบดูดซึมเสีย เพราะน้ำมันพืชเคลือบทำให้น้ำที่ดื่มเข้าไป ไม่หมุนเวียน
5. ไม่ถ่ายอุจจาระเวลา 05.00-07.00 เช้า
หากถ่ายอุจจาระ หลังเวลา 7 โมงเช้า ลำไส้จะบีบให้อุจจาระขึ้นไปข้างบนเวลาถ่าย จะถ่ายไม่หมด แต่ไม่รู้ตัว ที่ปลายลำไส้จะมีประสาทปลายทวาร เมื่อมีอุจจาระที่เหลวพอมาจ่อปลายทวาร ประสาทจะส่งสัญญานบอกสมองให้ปวดอึหลัง 7 โมงเช้า
   ลำไส้จะทำงานไม่เป็นปกติ บีบอุจจาระให้ขาดช่วงเวลาถ่ายจนรู้สึกว่าหมดแล้ว เราก็หยุดแต่ความจริง อุจจาระท้ายขบวนยังไม่ออกแต่มันถูกดันกลับขึ้นไป ไม่มาจ่อปลายทวารทำให้เราไม่ปวดอึ เราก็นึกว่าหมดแล้ว
อุจจาระที่ค้างไว้นี้ก็จะเกาะที่ผนังลำไส้พอมีอุจจาระใหม่ที่เหลวกว่ามันก็แซงหน้าไปก่อน แต่มันไม่สามารถดันพวกที่ค้างแข็งให้ออกไปได้พวกที่ค้างแข็งไว้ ก็เกาะติดแน่น  ฉะนั้น ทุกวันที่ถ่าย มันก็ถ่ายเฉพาะอึที่เหลวพอส่วนที่เหลือ
ก็เกาะไปเรื่อย ๆอุจจาระตกค้างจะไปทับเส้นเลือดต่างๆ
   ในกระเพาะและ กดทับกระดูกหลัง ทำให้เกิดอาการมากมายเช่นท้องอืด ปวดหลังปวดขา ปวดกล้ามเนื้อที่ไหล่และสะบัก เวียนหัวอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เป็นฝ้า ไมเกรน และอื่น ๆ
"นั่นแหละเป็นที่มา..ที่คุณหมอพรทิพย์เขียนไว้ว่าเวลาผ่าศพจะเจออุจจาระตกค้างในลำไส้อย่างน่าตกใจบางศพมีน้ำหนักอุจจาระถึง 10 กิโล"


  ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
  www.facebook/romboon

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

3 รู้...สู้โรคไต เทคนิคป้องกันไตวายเรื้อรัง

   หากใครเป็น "โรคความดันโลหิตสูง" และ "โรคเบาหวาน" จะทราบดีว่า ตนควรดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีอยู่เสมอ เพราะทั้งสองโรคสามารถพรากลมหายใจของตนไปได้เสมอ แต่ที่น่ากังวลกว่านั้นคือพบว่า ความดันโลหิตสูง และน้ำตาลในเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคไตวาย ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยใหม่และจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น
   หลากหลายหน่วยงานด้านสาธารณสุขต่างออกมาทำการรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง อย่างโครงการ "กำลังใจเพื่อชีวิตอิสระ ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง" ได้จัดเสวนา "3 รู้...สู้โรคไต" เพื่อให้ความรู้เรื่องโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รวมทั้งการป้องกัน และวิธีการบำบัดรักษาที่ถูกต้อง พญ.ปิยะธิดา จึงสมาน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตและการบำบัดทดแทนไต เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังเพิ่มสูงถึงร้อยละ 4.5 จากประชากรที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ทั้งที่ไม่ทราบมาก่อน หรือทราบแต่ไม่สามารถควบคุมได้ จนกระทั่งเป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด และยังมีโรคเก๊าท์ นิ่วในไต หน่วยไตอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยา และสารเคมีต่างๆ ได้แก่ ยาแก้ปวดกลุ่ม "เอ็นเสด (NSAIDs)" และยาปฏิชีวนะบางตัว รวมถึงภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงที่ไต และการเป็นมาแต่กำเนิด



       สำหรับความสำเร็จของการป้องกันโรคไตวายเรื้อรัง พญ.ปิยะธิดา มองว่า ต้องกระตุ้นให้ทุกคนเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของไตและโรคไต มีด้วยกัน 3 รู้ ได้แก่ การรู้โรค การรู้จักป้องกัน และรู้บำบัด
    การรู้โรค พญ.ปิยะธิดา กล่าวว่า ต้องรู้ว่าโรคไตคืออะไร มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน เมื่อเป็นแล้วมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและญาติอย่างไรบ้าง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกและให้ความสำคัญของการป้องกันโรคไต ส่วนการรู้จักป้องกัน โดยต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเอง และนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เช่น การใช้ยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา โดยเฉพาะยาสมุนไพร ยาหม้อ หรือยาเม็ดลูกกลอน รวมถึงยาแผนปัจจุบันบางชนิดที่รับประทานต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน และดูแลสุขภาพ ด้วยการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ และบุหรี่ เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ที่สำคัญต้องรักษาโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ รวมถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคไต ควรได้รับการตรวจเลือดและปัสสาวะ เพื่อคัดกรองโรคไตวายเรื้อรังอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ ผู้ป่วยต้องรู้จักสังเกตสัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคไต เพื่อยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานขึ้น

       


       "ต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืนมากกว่าปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ปริมาณปัสสาวะออกน้อยลง มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะสะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อ หรือปัสสาวะเป็นฟอง การบวมของใบหน้า รอบดวงตา เท้า และท้อง กดแล้วเป็นรอยบุ๋ม มีอาการปวดเอวหรือหลังด้านข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง) และความดันโลหิตสูง แต่ทั้งนี้ก็มีบางคนที่เป็นไตวาย แต่ไม่แสดงอาการเหล่านี้ จึงต้องอาศัยการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฎิบัติการเพื่อวินิจฉัย" พญ.ปิยะธิดา กล่าว
        ขณะที่การรู้บำบัด พญ.ปิยะธิดา อธิบายว่า เมื่อป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเป็นประจำและต่อเนื่อง เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรัง เป็นโรคที่มีการทำลายเนื้อไตทั้งสองข้างอย่างถาวรและต่อเนื่อง ทำให้การทำงานของไตบกพร่องมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาด ในที่สุดผู้ป่วยจะเข้าสู่ภาวะ ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะทนทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ ที่เกิดจากของเสียคั่งในเลือด ซึ่งถ้าไม่รักษาโดยการบำบัดทดแทนไต ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในระยะเวลาไม่นานนัก


สำหรับกรณีผู้ป่วยไตวายที่ยังสูญเสียสภาพไตไม่มาก พญ.ปิยะธิดา บอกว่า ยังไม่จำเป็นต้องบำบัดทดแทนไต แต่ต้องพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด ด้วยการจำกัดอาหารที่มีรสจัด เนื้อสัตว์ต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ นม พวกผัก หัวผักกาดสีแสด ผักชี ผักที่มีใบสีเขียวเข้ม ถั่ว ผลไม้แห้งทุกชนิด เช่น ลูกเกด ลูกพรุน และกากน้ำตาล ช็อคโกแล็ต มะพร้าวขูด (ให้กินแต่น้อย ประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน) จำกัดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละวัน ให้เหมาะสมตามวิธีการคำนวณง่ายๆ คือ ปริมาณน้ำดื่มแต่ละวัน = ปริมาณปัสสาวะของเมื่อวาน + 500 มิลลิลิตร
        นอกจากนี้ การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดความดัน ยาจับฟอสฟอรัส หรือยารักษาความเป็นกรดในเลือดก็สามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้ รวมถึงต้องไม่ทำงานหนัก หรือเล่นกีฬาหักโหม อาบน้ำทุกวันโดยใช้สบู่อ่อน ทาผิวหนังด้วยน้ำมันหรือครีม เพื่อลดอาการผิวแห้งและคัน ตัดเล็บให้สั้น ทำความสะอาดปากและฟันบ่อยๆ เพื่อลดการติดเชื้อ
        หากผู้ป่วยมีอาการถึงระยะสุดท้าย พญ.ปิยะธิดา แนะนำว่า ต้องบำบัดทดแทนไต ซึ่งมีอยู่ 3 วิธี คือ 1. การปลูกถ่ายไต 2.การฟอกเลือด ผู้ป่วยต้องเดินทางไปยังศูนย์ไตเทียมเพื่อฟอกเลือดทุกสัปดาห์ๆละ 2-3 ครั้งตลอดชีวิต ทำให้มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยในวัยทำงาน ชีวิตขาดอิสระ และผู้ป่วยยังจำเป็นต้องจำกัดน้ำและเกลือโดยเคร่งครัด และ 3. การล้างไตทางช่องท้อง ผู้ป่วยหรือญาติสามารถทำได้เองที่บ้านทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนคนปกติทั่วไป ลดข้อจำกัดเรื่องเวลาในการเดินทางไปพบแพทย์ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ได้รับตามสิทธิอีกด้วย โดยบรรจุอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
   ด้านนายธีรมนัส ธนเอกอัครพงษ์ อายุ 49 ปี ได้เล่าว่าถึงชีวิตที่ต้องสู้กับโรคไตว่า ก่อนป่วยได้มีโอกาสไปทำงานที่ประเทศฮ่องกงนาน 10 ปี กลางวันเป็นกุ๊กอาหารไทยในโรงแรม กลางคืนร้องเพลง พักผ่อนน้อยมาก เมื่อถึงหน้าหนาวก็หนาวมาก มีคนไทยที่นั่นแนะนำให้ดื่มสมุนไพรจีน เพื่อบรรเทาอาการปวดตามข้อและกระดูก จึงดื่มวันละ 3 แก้ว เป็นเวลา 3 เดือน แต่มาทราบความจริงในภายหลังว่าให้ดื่มอาทิตย์ละ 1 แก้วเท่านั้น ทุกอย่างจึงสายเกินไป ปรากฎว่าเกิดอาการไตวายฉับพลัน และตามมาด้วยความดันโลหิตสูง และเป็นโรคหัวใจโตในที่สุด
     "ช่วงที่ทราบว่าป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังใหม่ๆ แรกๆ สุขภาพแย่มาก น้ำหนักตัวเหลือแค่ 37 กิโลกรัม หลังจากที่ได้รับการรักษาอยู่ระยะหนึ่ง ก็ปรับระดับจิตใจของตนเองให้ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิต ทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ หมั่นดูแลตนเองตามที่คุณหมอและพยาบาลแนะนำ ดื่มน้ำพอประมาณ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทโซเดียม (เกลือ ผงชูรส ผงฟู ผงนุ่ม เครื่องปรุงรสต่างๆ ที่มีรสเค็ม) ที่สำคัญที่สุดต้องคิดอยู่เสมอว่า เราป่วยเพียงร่างกายเท่านั้น แต่อย่าให้จิตใจป่วยตามเด็ดขาด"
      

       ธีรมนัส เล่าให้ฟังอีกว่า ตนได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตทางช่องท้อง ปัจจุบันทำงานเป็นผู้จัดการในสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง การดำเนินชีวิตก็เป็นปกติ เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ต้องปรับเวลาให้เข้ากับงานที่ทำ โดยต้องล้างไต 3 ครั้ง (8 ชั่วโมงล้าง 1 ครั้ง) และรู้สึกสนุกกับการล้างไตทุกครั้ง เพราะถือว่าการล้างไตเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และเป็นกิจวัตรประจำวัน บางครั้งอาจมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น น้ำยาขุ่น เป็นแผล มีหนองเกิดขึ้นจึงรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที แพทย์และพยาบาลก็จะหาสาเหตุให้ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และบอกวิธีการแก้ไขให้ในที่สุด
       "ทุกวันนี้ก็แข็งแรงดี รับประทานอาหารได้ นอนหลับ น้ำหนักเกือบจะเท่าเดิมแล้ว ถ้ามีเวลาและโอกาสก็จะออกกำลังกายเบาๆ ประมาณ 30 นาที ที่เขาว่าชีวิตเปรียบเหมือนกับบทละคร ก็เพิ่งประจักษ์กับคำนี้ เพราะขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์เพียงชั่วเวลาหนึ่งก็กลับกลายเป็นคนหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เมื่อใช้คำว่า "สู้" ทุกๆ อย่างก็ดีขึ้น"...





โรคไต หมายถึง โรคอะไรก็ได้ที่มีความผิดปกติหรือที่เรียกว่า พยาธิสภาพ เกิดที่บริเวณไต ที่พบมาก ได้แก่
 
โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
 
โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ หรือโรคความดันโลหิตสูง
 
โรคไตอักเสบเนโฟรติก
 
โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
 
โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
 
โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)




อาการ


ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
 
ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม ก็ได้
 
ปัสสาวะเป็นฟองมาก เพราะมี albumin หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟองขาวๆ เหมือนฟองสบู่
 
การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆ กัน เป็นข้อสันนิฐาน ที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็นโรคไต
 
ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
 
การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
 
การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ
 
การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต


การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
อาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณ หนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมาก จะมีอาการบวมทั่วตัว อาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติค ซินโดรม (Nephrotic Syndrome)
ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้ หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) เนื่องจากปกติ ไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูก สร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีด หรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลมบ่อยๆ
อย่างไรก็ตาม ควรต้องไปพบแพทย์ ทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้น ว่าเป็นโรคไตหรือไม่
   อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะที่(local signs&symptoms) ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่ายปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็น
ส่วนหนึ่งของอาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs &symptoms) ได้แก่
 - อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นโรคไตจะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัวอาจเกิดได้ในโรคไตหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไตอักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome)  อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสารอาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน
- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้   อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไตเป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
- ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับโรคไตก็คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic renalfailure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไป
กระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ


ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็นโรคไตหรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำการวักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่ ถ้าหากพบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์โรคไตเฉพาะอายุรแพทย์โรคไต (Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ก็ได้



สาเหตุ
 
เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด




คำแนะนำ
 
1.กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมาก ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น 
โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งหมายถึงโปรตีน ที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด จำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน โดยไม่ต้องให้กรดอะมิโนจำเป็น หรือกรดคีโต (Keto Acid) เสริม เพราะอาหารโปรตีนในขนาดดังกล่าวข้างต้น ให้กรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่พอเพียง กับความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว 
   ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยซึ่งมีน้ำหนักตัวเฉลี่ย ประมาณ 50-60 กิโลกรัม ควรกินอาหาร ที่มีปริมาณโปรตีนสูงประมาณ 30-60 กรัม / วัน อาจจำกัดอาหารโปรตีน เพื่อชะลอการเสื่อมหน้าที่ ของไตได้อีกวิธีหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยกินอาหารโปรตีนต่ำมาก (0.4 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน) ร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์คีโต (Keto Analog) ของกรดอะมิโนจำเป็น ในกรณีผู้ป่วยมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม ควรกินโปรตีนประมาณ 20-25 กรัม / วัน เสริมด้วยกรดอะมิโนจำเป็น หรืออนุพันธ์ครีโตของกรดอะมิโนจำเป็น 10-12 กรัม / วัน
2.กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอล ในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน ด้วยการจำกัดอาหาร ที่มีโคเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
  


3.งดกินอาหารที่มีฟอสเฟตสูง ฟอสเฟตมักพบในอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง นม และเมล็ดพืชต่างๆ เช่น ถั่วลิสง เม็ดทานตะวัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดอัลมอนด์ ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว พบว่าอาหารที่มีฟอสเฟตสูง จะเร่งการเสื่อมของโรคไตวายเรื้อรัง ให้รุนแรงมากขึ้น และมีความรุนแรงของ การมีโปรตีนรั่วทางปัสสาวะมากขึ้น นอกเหนือจากผลเสีย ต่อระบบกระดูกดังกล่าว
4.ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม การกินเกลือในปริมาณไม่มากนัก โดยไม่ต้องถึงกับงดเกลือโดยสิ้นเชิง แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด งดอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ทำเค็ม หรือหวานเค็ม เช่น เนื้อเค็ม ปลาแห้ง กุ้งแห้ง รวมถึงหมูแฮม หมูเบคอน ไส้กรอก ปลาริวกิว หมูสวรรค์ หมูหยอง หมูแผ่น ปลาส้ม ปลาเจ่า เต้าเจี้ยว งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋องข้างต้น
5.ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีน้ำหนักเกิน น้ำหนักจริงที่ควรเป็น (Ideal Weight for Height) ในคนปกติ ควรจำกัดปริมาณแคลอรี ให้พอเพียงในแต่ละวันเท่านั้น คือ ประมาณ 30-35 กิโลแคลอรี / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.yourhealthyguide.com
www.manager.co.th